เมนู

โยคะเป็นต้นเหล่านั้นเป็นเหตุให้จมลงในทุกข์ทั้งปวงเป็นอันล่วงได้ยาก
ฉะนั้น วิสาขา แม้เธอปรารถนาประโยชน์ที่เนื่องกับผู้อื่น เมื่อไม่ได้ ก็
เดือดร้อน.
จบอรรถกถาวิสาขาสูตรที่ 9

10. กาฬิโคธาภัททิยสูตร



ว่าด้วยอุทานว่าสุขหนอ ๆ



[68] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ก็สมัยนั้น
แล ท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีพระนามว่า กาฬิโคธา
อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังท่านพระภัททิยะพระโอรสของ
พระราชเทวีกาฬิโคธา อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี เปล่ง-
อุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้พากัน
ปริวิตกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระภัททิยะพระโอรสของ
พระราชเทวีกาฬิโคธา ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ต้องสงสัย ท่าน
อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวนระลึกถึงความสุขใน
ราชสมบัติเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
สุขหนอ สุขหนอ ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระภัททิยะ
พระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดย

ไม่ต้องสงสัย ท่านอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวน
ระลึกถึงความสุขในราชสมบัติเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่ง
อุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ.
[65] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอจงไปเรียกภัททิยะภิกษุมาตามคำของเราว่า ภัททิยะผู้มีอายุ
พระศาสดาตรัสสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้า
ไปหาท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา ครั้นแล้วได้
กล่าวกะท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธาว่า ดูก่อน
อาวุโสภัททิยะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระภัททิยะพระโอรสของ
พระราชเทวีกาฬิโคธา รับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสถานท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา
ว่า ดูก่อนภัททิยะ ได้ยินว่า ท่านอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือน
ว่างก็ดี เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้จริงหรือ ท่าน
พระภัททิยะทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภัททิยะ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า อยู่ในป่า
ก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี จึงเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ
สุขหนอ.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน
เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ ได้มีการรักษาอันพวกราชบุรุษจัดแจงดีแล้ว ทั้ง
ภายในพระราชวัง ทั้งภายนอกพระราชวัง ทั้งภายในพระนคร ทั้งภาย
นอกพระนคร ทั้งภายในชนบท ทั้งภายนอกชนบท ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นแลเป็นผู้อันราชบุรุษรักษาแล้วคุ้มครองแล้วอย่างนี้
ยังเป็นผู้กลัว หวาดเสียว ระแวง สะดุ้งอยู่ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้เดียว
อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่ระแวง
ไม่สะดุ้ง มีความขวนขวายน้อย มีขนตก เป็นไปอยู่ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มี
ใจดุจเนื้ออยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้แล
อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี จึงได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
สุขหนอ สุขหนอ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ความกำเริบ (ความโกรธ) ย่อมไม่มีจากจุติของ
พระอริยบุคคลผู้ก้าวล่วงความเจริญและความเสื่อมมี
ประการอย่างนั้น เทวดาทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถ
เพื่อจะเห็นพระอริยบุคคลนั้นผู้ปราศจากภัย มีความ
สุข ไม่มีความโศก.

จบกาฬิโคธาภัททิยสูตรที่ 10
จบมุจจลินทวรรคที่ 2


อรรถกถากาฬิโคธาภัททิยสูตร



กาฬิโคธาภัททิยสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุปิยายํ ได้แก่ ใกล้พระนครอันมีชื่ออย่างนี้. บทว่า
อมฺพวเน ความว่า ในที่ไม่ไกลแต่นครนั้น เจ้ามัลละทั้งหลายได้มีสวน
มะม่วงแห่งหนึ่ง ในสวนมะม่วงนั้น เจ้ามัลละทั้งหลายได้สร้างวิหารถวาย